วันพุธที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

การกำจัดวัชพืช

การกำจัดวัชพืช


ใช้สารเคมีประเภทควบคุมวัชพืชชนิดก่อนงอก เช่น แลสโซหรือดูอัล โดยพ่นทันทีหลังปลูกถั่วเขียวเสร็จ และก่อนถั่วจะออกดอกใช้แรงคนดายหญ้า 1-2 ครั้งก็เพียงพอ



ในขณะเตรียมดิน ควรไถ 2 ครั้ง ไถครั้งแรกแล้วตากดินทิ้งไว้ 10-15 วัน เพื่อทำลายวัชพืช แล้วจึงไถอีกครั้งหนึ่ง

โดยปกติการปลูกถั่วเขียวแบบหว่านเกษตรกรจะไม่กำจัดวัชพืชเลย ในระยะเดือนแรกหลังจากปลูกแล้ว ถั่วเขียวจะเจริญเติบโตช้ากว่าวัชพืช ทำให้วัชพืชแย่งน้ำอาหารและแสงแดด ทำใหัถั่วเขียวเจริญเติบโตไม่ดีและผลผลิตลดลง ดังนี้น การปลูกถั่วเขียว เพื่อให้ได้ผลผลิตสูงต้องคำนึงถึงปัญหาวัชพืช ควรกำจัดวัชพืชอย่างน้อย 1-2 ครั้ง ทุก 15 วัน หลังจากปลูกจากนี้แล้วถั่วเขียวจะเจริญเติบโต อย่างรวดเร็วจนพุ่มใบชนกันจึงไม่จำเป็นต้องกำจัดวัชพืชอีก

การใส่ปุ๋ย

การใส่ปุ๋ย
ใช้ปุ๋ย 12-24-12 อัตรา 20-30 กิโลกรัม/ไร่ หรือ 16-20-0 อัตรา 20-25 กิโลกรัม/ไร่ โดยเปิดร่องให้ลึก 6-8 นิ้ว โรยปุ๋ยทั้งหมดที่ก้นหลุมแล้วกลบด้วยดิน แล้วจึงหยอดเมล็ดลงไปกลบดินบาง ๆ ให้เมล็ดถั่วอยู่ใต้ผิวดิน 1-2 นิ้ว เมื่อต้นถั่วงอกออกมาจะใช้ปุ๋ยทันที


วิธีการปลูกถั่วเขียว

วิธีการปลูก ก่อนปลูกควรทดสอบความงอกของเมล็ดพันธุ์ ถ้ามีความงอกต่ำกว่าร้อยละ 80 ควรเพิ่มจำนวนเมล็ดพันธุ์ที่จะใช้ปลูกให้มากขึ้น วิธีปลูกทำได้ 2 แบบคือ

1. ปลูกแบบหว่าน ควรเตรียมแปลงปลูกให้ดีแล้วหว่านเมล็ดพันธุ์ให้สม่ำเสมอ มิฉะนั้นผลผลิตจะต่ำ คุณภาพเมล็ดลดลง การหว่านที่เหมาะสมคือใช้เมล็ดพันธุ์ 4-5 กิโลกรัม หว่านอย่างสม่ำเสมอในเนื้อที่ 1 ไร่ (แต่ถ้าใช้พันธุ์ชัยนาท 60 ต้องใช้เมล็ดพันธุ์ 7 กิโลกรัม/ไร่)

2. ปลูกแบบเป็นแถว ใช้ระยะแถว 50 เซนติเมตร ระยะหลุม 20 เซนติเมตร หยอดหลุมละ 3-4 เมล็ด หรือจะโดยเป็นแถวหลังจากงอกแล้วถอนให้เหลือ 15-20 ตัน/แถวยาว 1 เมตร (แต่ถ้าเป็นพันธุ์ชัยนาท 60 ถอนให้เหลือ 20-30 ต้น/เมตร

ถั่วเขียว

ถั่วเขียว

       ถั่วเขียวเป็นพืชวงศ์ถั่วเช่นเดียวกับถั่วเหลือง ถั่วลิสง ถั่วแขก และถั่วพู ผลของพืชวงศ์นี้มีลักษณะเฉพาะ เรียกว่า ฝักแบบถั่ว ถั่วเขียวมีถิ่นกำเนิดแถบอินเดีย เมียนมาร์ และไทย ซึ่งพบว่ามีการปลูกถั่วเขียวกันมาเนิ่นนานแล้ว
การเก็บเมล็ดถั่วเขียว นิยมเก็บทั้งฝักด้วยมือ แล้วตากแดดให้แห้ง จากนั้นจึงสีเอาเมล็ดออกจากฝักด้วยเครื่องหรือเขย่าผ่านรูตะแกรง
นอกจากนำเมล็ดถั่วเขียวแห้งไปปรุงอาหารแล้ว ที่นิยมมาก คือ เพาะเมล็ดถั่วเขียวเป็นถั่วงอก กินเป็นผัก ถั่วงอกมีวิตามินซีสูงกว่าเมล็ดถั่ว ดังนั้นการกินถั่วงอกกับอาหารพวกถั่วและธัญชาติจึงช่วยเสริมวิตามินซีที่ขาดไปในอาหารดังกล่าวได้เป็นอย่างดี
ชื่อไทยถั่วเขียว
ชื่อสามัญMung Bean, Green Bean, Green Gram, Golden Gram
ชื่อพฤกษศาสตร์Vigna radiata (L.) R. Wilcz.
ชื่อวงศ์FABACEAE
แหล่งกำเนิดและการกระจายพันธุ์อินโดนีเซีย อินเดีย

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ไม้ล้มลุกอายุหนึ่งปี แตกกิ่งก้านมาก มีใบห่างๆ ใบเรียงเวียน ใบประกอบแบบขนนก มี 3 ใบย่อย ใบตั้ง รูปไข่ถึงรูปคล้ายสี่เหลี่ยมข้าวหลามตัด ช่อดอกแบบช่อกระจะ จำนวนดอกน้อยอยู่บริเวณปลายช่อ ดอกแบบดอกถั่ว สีเหลือง เมล็ดรูปกึ่งกลม สีเขียว

ผลิตผลและผลิตภัณฑ์

เมล็ดแห้ง ใช้เพาะถั่วงอก ทำแป้งถั่วเขียว วุ้นเส้น ทำขนม